Search
× Search
Menu
  1. หน้าแรก
  2. เกี่ยวกับคณะ
  3. วิชาการและวิจัย
  4. หลักสูตร
  5. นิสิต
  6. ข่าวประชาสัมพันธ์
  7. รับสมัครงาน
  8. ติดต่อ
  9. สำนักงานสีเขียว
image
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์




ประกวดตราสัญลักษณ์ (โลโก้) "โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

Published on 4 มิถุนายน 2567

ประกวดตราสัญลักษณ์ (โลโก้) "โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

ประกวดตราสัญลักษณ์ (โลโก้) "โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน" ชิงเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร

กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ (โลโก้) โดยต้องจัดทำและผลิตภายใต้หัวข้อ “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน” ให้มีความน่าสนใจดึงดูดให้เกิดการแชร์หรือบอกต่อ เป็นผลงานที่สื่อถึงต้นแบบนวัตกรรมชุดคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสันเคลื่อนที่ การคัดกรองผู้ป่วยพาร์กินสัน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเซ็นเซอร์ และการปรับพฤติกรรมเรื่องของการรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย และการนอนเพื่อป้องกันหรือชะลอความเสื่อม ของโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย “คัดกรองพาร์กินสันไว เพื่อสุขภาพคนไทย ที่ยั่งยืน”
  • ผู้ที่สนใจส่งผลงาน สามารถส่งผลงานได้ทั้งในนามรายบุคคล รายกลุ่ม หรือในนามทีมจาก สถาบันการศึกษาหรือองค์กร โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 1 คน/ทีม สามารถส่งผลงานได้ไม่เกิน 2 ผลงาน และผู้ส่งผลงาน เข้าประกวดที่มีผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้ชนะการประกวดมากกว่า 1 รางวัล จะได้รับรางวัลที่มีมูลค่าสูงสุด เพียงรางวัลเดียว
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นรูปแบบภาพ ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ PNG หรือ JPG ที่ มีความละเอียดเกิน 300 dpi และขนาดไม่เกิน 3MB และขนาดไม่น้อยกว่า 2 ล้านพิกเซล และต้องส่งไฟล์ดิจิทัล ต้นฉบับของโปรแกรมในรูปแบบนามสกุล Adobe Illustrator Artwork (AI) ที่สามารถปรับแก้ได้
  • เขียนคำอธิบายผลงานหรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานโดยสังเขป (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 เป็นภาษาไทย) พร้อมทั้งระบุข้อมูลการใช้ FONT อักษร ซึ่งจะต้องเป็น FONT ที่มีลิขสิทธิ์ ถูกต้อง หรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ก็ได้
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยผ่านการประกวดจากโครงการต่าง ๆ หรือเคยเผยแพร่ต่อสาธารณชน
  • ผู้สนใจสามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 15 กรกฎาคม 2567
  • ประกาศผลผู้ได้รับรางวัล ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ทางเฟสบุ๊ค Parkinson Chula Fanpage

เงื่อนไขการประกวด

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลใดๆ มาก่อน หากคณะกรรมการตรวจพบขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมการประกวด
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ลบหลู่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่สร้างความแตกแยก และไม่ขัดต่อจริยธรรม
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ก้าวล่วงในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล สิทธิของผู้รับบริการ และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของสังคม ทั้งนี้ผู้ส่งผลงานเข้า ประกวดต้องรับผิดชอบในเนื้อหา ภาพ หรืออื่นใดแต่เพียงผู้เดียว ในกรณีที่ผลงานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สิน ทางปัญญาอื่นใดของบุคคลอื่น
  • ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จะเก็บรักษาผลงานที่ผ่านการประกวดทุกชิ้นไว้โดยไม่มีการยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้นผลงาน และเอกสารการที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะไม่มีการส่งคืนผู้สมัครไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมการประกวดทุกคนที่กรอกรายละเอียดไว้ในใบสมัครจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  • ผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งทางศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สามารถนำบางส่วนหรือทั้งหมดของผลงานไปใช้หรือปรับแก้ไขได้ตามความเหมาะสมโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์
  • ตลอดระยะเวลาการจัดการประกวด ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีสิทธิ์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข กฎข้อบังคับต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยไม้ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ผลงานที่ส่งเข้าประกวดที่ไม่ถูกต้อง ตามกติกาการประกวดข้อใดข้อหนึ่ง จะไม่ได้รับการพิจารณาและแม้ว่าจะได้รับการพิจารณาให้รับรางวัลใดรางวัลหนึ่งไปแล้ว หากมีการท้วงติงถึงการทำผิดกติกาข้อใดข้อหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัลไปแล้ว และสามารถพิสูจน์ได้ว่าาทำผิดกติกา ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สามารถยกเลิกและเปลี่ยนแปลงการตัดสิน รวมทั้งขอคืนรางวัลได้ ภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ประกาศผลการตัดสิน

เกณฑ์การให้คะแนน
คณะกรรมการประจำโครงการฯ เป็นผู้ให้คะแนน โดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน ดังต่อไปนี้

  • การนำเสนอในภาพรวม ความเหมาะสม ตลอดจนการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เกิดการรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในภาพลักษณ์ต้นแบบนวัตกรรมชุดคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสันเคลื่อนที่ การคัดกรองผู้ป่วยพาร์กินสัน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเซ็นเซอร์ และการปรับพฤติกรรมเรื่องของการรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย และการนอนเพื่อป้องกันหรือชะลอความเสื่อม ของโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย (50 คะแนน)
  • เทคนิคการนำเสนอ คุณภาพการผลิต คุณภาพของภาพ และความสวยงามของผลงาน (30 คะแนน)
  • ความคิดสร้างสรรค์ ความโดดเด่นที่ช่วยให้ผู้รับชมเกิดความประทับใจในเนื้อหา (20 คะแนน)

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ รับรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ
  • รางวัลชมเชย 3 รางวัล รับรางวัลละ 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน

ติดต่อสอบถาม

  • thaipd@chulapd.org
  • LINE @thaipd
  • 081-107-9999

Contest T

Rate this article:
No rating
Comments (0)Number of views (871)

Author: swubas

Categories: ข่าวทั่วไป

Tags:

Print
Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2568 by Srinakharinwirot University
Back To Top